top of page

OUR HISTORY 
A Walk Through Our Background
________________________

Siriraj Hospital, Faculty of Medicine has been at the forefront among medical institutes in Thailand ever since its establishment by King Rama V in 1888. Through its operation spanning more than 100 years, the institutes has gone through several historical events from the setup of medical school curriculum in 1890 and now becomes one of the best medical service providers in region, recognized both domestically and internationally for its expertise in various area  of  medicine and know for it largest number of service provide per year, bed capacity and the size of staff employee.
 

FOUNDERS 

___________________________

Aj-Pongsakdi_edited.jpg
Aj-Kovit_edited.jpg
Aj-Amphan_edited.jpg

Associate Professor
Amphan Chalermchockcharoenkit

Aj-Korakot%20Sirimai_edited.jpg

Assistant Professor
Kovit Pimolpan

Associate Professor
Korakot Sirimai

Professor Emeritus
Pongsakdi Chaisilwattana

The Thai- German Endoscopic Training Center (TG –MET Center) was established in 2000 by four gynecologists namely Prof. Emeritus Pongsakdi Chaisilwattana, Asst. Prof. Kovit Pimolpan, Assoc Prof. Amphan Chalermchockcharoenkit, Assoc. Prof. Korakot Sirimai and Prof. Dr. Hans Rudolf Tinneberg.

 

The Training center received support endoscopic equipments from Dr. h.c. mult. Sybill Storz. The TG- MET center has been a very productive and instrumental in providing endoscopic training for Thai doctors and international participants. In 2007 The Faculty of Medicine Siriraj Hospital supported to renovate and expand the training center to be International Thai- German multidisciplinary Endoscopic Training Center which was the host for 1st International TSGE – APGE workshop (in collaboration with Thai society of Gynecologic Endoscopists and Asia Pacific Association for Gynecologic Endoscopy and Minimally Invasive Therapy) on August 1-3, 2007. On this occasion, Her Royal Highness Princess Maha Chakri  Sirindhorn has presided over for the opening ceremony.
 
In 2011, Her Royal Highness Princess Maha Chakri  Sirindhorn  adopted Thai – German Multidisciplinary Endoscopic Training Center to be under her royal patronage.

THE LEGENDARY OF TGMET CENTER 
___________________________

APPRECIATE THE PAST, EMBRACE THE FUTURE 

Professor Emeritus Dr. Pongsakdi Chaisilwattana

_________________________

APPECIATE THE PAST

ประวัติ สาขาวิชาการใช้กล้องเพื่อส่องตรวจและรักษาทางนรีเวชวิทยา ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เริ่มต้นโดย ศ. นพ. ประพันธ์ อารียมิตร (พ.ศ. 2512 :1969) หัวหน้าภาควิชาฯ ได้นำการใช้กล้องเพื่อส่องตรวจมาใช้ในภาควิชาฯ โดยการส่องกล้องเข้าตรงแผลที่บริเวณสะดือเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคในอุ้งเชิงกราน ต่อมา ศ. นพ.สุพร เกิดสว่าง (ค.ศ. 1970 : 2513) ได้นำกล้องมาใช้ในการตรวจและทำหมันผู้ป่วยในสาขาวิชาวางแผนครอบครัว และ ผศ. พญ.อัปสร อมาตยกุล (ค.ศ. 1974 : 2517)  ได้นำกล้องส่องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (Cystoscope) มาใช้ส่องตรวจกระเพาะปัสสาวะเพื่อช่วยในการวินิจฉัยระยะการลุกลามของมะเร็งปากมดลูก  ในเวลาใกล้เคียงกัน ศ. คลินิก เกียรติคุณ นพ. ประพาส เพียรเลิศ ได้นำกล้อง culdoscope มาส่องตรวจอวัยวะในอุ้งเชิงกรานสตรีและทำหมันผ่านทาง cul-de sac ในช่องคลอด (Natural Orifice Transluminal Endoscopic Surgery ) ในปี ค.ศ. 1975 (2518) ผ.ศ. นพ. โกวิท  พิมลพันธุ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าสาขาวิชาการใช้กล้องเพื่อส่องตรวจและรักษาทางนรีเวชวิทยา ท่านได้ดำเนินการประสานงานต่อเนื่องจาก ศ. นพ. ประพันธ์ และ ศ. นพ.สุพร  ต่อมา คศ. 1976 (2519) รศ. นพ. ชัยยศ อัศวจินดาวัฒน์ (ธีรผกาวงศ์) ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาฯ   ปีค.ศ. 1977 (2520) ศ. นพ. พงษ์ศักดิ์  ชัยศิลป์วัฒนา ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์ที่สาขาวิชาฯ อาจารย์ทุกท่านได้ช่วยกันทำงานและพัฒนาสาขาวิชาฯให้เจริญรุ่งเรืองและทันสมัยตลอดเวลา ผมต้องขอกราบขอบพระคุณและรำลึกถึงพระคุณของท่านอาจารย์ทุกท่าน

 กล้อง Laparoscope

เครืองมือที่แสดงให้ท่านเห็นนี้เป็นกล้อง Laparoscope อันแรกที่เราได้รับมาจากโครงการ JHPIEGO (Johns Hopkins Program for International Education in Gynecology and Obstetrics 1973) ซื่งได้รับเงินช่วยเหลือจาก United States Agency for International Development (USAID) กล้อง laparoscope นี้ประกอบด้วยตัวกล้องที่มี extension side tube eye piece และมี operating channel สำหรับสอดใส่เครื่องมือเช่น Grasper with monopolar electric coagulation เพื่อการวินิจฉัยและผ่าตัดเช่นการทำหมัน

Pneumoperitoneum

ในระยะแรกๆ ใช้ room air ในห้องผ่าตัด บีบผ่านถุงยางที่มีตาข่ายหุ้มไว้เพื่อไม่ให้ถุงยางพองมากเกินต้องการและแพทย์ต้องใช้มือกดดูความตึงและแรงอัดที่เกิดในถุงยางเพื่อไม่บีบลมเข้าช่องท้องมากและเร็วเกินไป ในขณะนั้นไม่มี gauge วัดความดันในช่องท้องเหมือนปัจจุบัน room air ถูกพ่นผ่าน air filter เข้าสู่ช่องท้องผู้ป่วย ผู้ช่วยต้องคอยสังเกตความดันในช่องท้องร่วมกับความโป่งของถุงลม เพี่อให้แพทย์ทำการส่องกล้องตรวจได้สะดวกและปลอดภัย

 Self Training Process

การฝึกการใช้กล้องและทำหัตถการในช่องท้อง ในเวลานั้นเราไม่มี pelvic trainer box เหมือนปัจจุบัน ผมใช้กล่องรองเท้า มาเจาะรุแทนรูสะดือ แล้วยืมกล้องในห้องผ่าตัดมาฝึกในเวลานอกราชการ ใช้ฝึกหัดความแม่นยำในการจับเป้าหมายและทำหัตถการให้เชี่ยวชาญ และฝึกในสัตว์ทดลองเช่น หมู และ กระต่าย ก่อนทำผ่าตัดในผู้ป่วยจริง

           

Diagnostic laparoscopy and Tubal Sterilization via laparoscopy assisted

เมื่อทำการส่องกล้องและผ่าตัดทำหมันในผู้ป่วย แพทย์ทำการส่องกล้องและผ่าตัดทำหมัน (Tubal sterilization) โดยการฉีดยาชาที่สะดือร่วมกับการฉีด valium และ pethidine ผู้ป่วยจะหลับๆตื่นๆ ไม่ค่อยรู้สึกเจ็บมาก แพทย์ทำผ่าตัดโดยเจาะที่สะดือ สอดTrocar & sleeve และสอดกล้องเข้าสะดืออย่างประณีตรวดเร็ว ทำการวินิจฉัย และรักษาอย่างรวดเร็วเท่าที่สามารถทำได้ตามสภาพเครื่องมือที่มีอยู่  การทำหมันใช้ monopolar grasper จี้ที่ท่อนำไข่ให้สุกพองและมีเสียงระเบิดดังพั๊พแล้วดึงให้ขาดจากกัน เสร็จแล้วจี้ปิดหัวท้ายท่อที่ขาดออกจากกันเพื่อให้แน่ใจว่า ไม่มีช่องเปิดของท่อนำไข่และเป็นการห้ามเลือดในกรณีมีเลือดออก การทำเช่นนี้ ทำให้แน่ใจว่าจะไม่มี re-anastomosis of uterine tube ดังนั้นการทำหมันวิธีนี้จะมีการทำลายเนื้อเยื่อท่อรังไข่ในวงกว้างมากกว่าการผูกตัดท่อนำไข่แบบดั้งเดิม จึงทำให้การที่จะต่อท่อรังไข่ให้เป็นท่อกลวงดังเดิมนั้นยากขึ้นกว่าการทำหมันโดยวิธีผูกและตัดท่อนำไข่

Uterine Manipulator

Uterine manipulators Siriraj Model โดย ศ. นพ. สุพร เกิดสว่างได้ออกแบบและให้โรงงานในประเทศไทย ประดิษฐ์ขึ้นมาใช้เอง ลักษณะของ uterine manipulators ประกอบด้วยก้าน 2 ก้าน เมื่อหุบเข้ามาหากันจะเป็นเส้นตรงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาน 5 มม. สามารถสอดผ่าน cervical os เข้าได้พอดี. มีแหวนบังคับไม่ให้สอด uterine manipulator เข้าไปเกินความยาวของโพรงมดลูกเพื่อป้องกันการดันเครื่องมือเข้าไปทะลุโพรงมดลูก มีด้ามจับและมีเดือยสำหรับเลื่อนให้ก้านทั้งสองที่อยู่ในโพรงมดลูกตรงบริเวณ fundus แยกกางออกมาค้ำมดลูกไว้ไม่ให้หลุดออกมา เวลาเสร็จสิ้นการผ่าตัดก็บิดเดือยหุบก้านทั้งสองเข้าหากันเป็นเส้นตรงแล้วดึงออกมาได้ง่ายดาย ขณะนี้ยังมีอยู่ในพิพิธภัณฑ์ TGMET CENTRE นับว่าใช้ได้ผลดี ยึดกับโพรงมดลูกได้ดีไม่หลุดง่ายและไม่ทำให้โพรงมดลูกบอบช้ำเกินไป

New Instrumentation

ต่อมาเราได้รับเครื่องมือเพิ่มเติมที่ทันสมัยและสะดวกสบายปลอดภัยมากขึ้น ได้แก่เครื่องเติมลมในช่องท้องพร้อมเครื่องวัดความดันลมและปริมาตรลมที่ใส่เข้าไปในช่องท้อง ในขณะนี้เราใช้ gas carbon-dioxide แทน room air แล้ว

           

Imaging Record

สำหรับการบันทึกภาพในช่องท้องผู้ป่วย เราไม่มีเครื่องถ่าย video recorder เราใช้กล้องถ่ายรูปธรรมดาของ Olympus บรรจุ Kodak Chrome slide film สวมเข้ากับ eye piece ของกล้อง Laparoscope แล้วถ่ายเป็นภาพนิ่งเก็บไว้ เมื่อฟิล์มหมดม้วนก็นำมาล้างทำเป็นภาพ slides มาใช้ในการเรียนการสอน

ปลายปี พ.ศ. 2535 สาขาวิชาการใช้กล้องเพื่อส่องตรวจและรักษาได้รับเครื่องมือผ่าตัดผ่านกล้องชุดใหม่ที่มี camera มาใช้แต่ไม่มีเครื่อง monitor เราใช้ camera ต่อเข้ากับเครื่องโทรทัศน์ที่ใช้ดูในบ้านเพื่อทำผ่าตัด โทรทัศน์ที่ใช้ก็มีอุปสรรคมาก นอกจากภาพไม่ค่อยคมชัดแล้ว เวลาที่ใช้ monopolar hook จี้เนื้อเยื่อด้วยไฟฟ้า ภาพที่หน้าจอก็หายไปมีเป็นคลื่นไฟฟ้าสั่นไหวมาแทนที่  ทำให้เราต้องหยุดชั่วคราวแล้วตรวจดูบริเวณที่เราจี้ให้แน่ใจว่าตรงเป้าและได้ผล ฉะนั้นก่อนที่จะใช้ monopolar instruments เราต้องเล็งเป้าและมือต้องนิ่งและแม่นยำก่อนที่จะเหยียบจี้ เพราะเมื่อเหยียบจี้จะมีคลื่นรบกวนที่หน้าจอทีวี เราจะไม่เห็นภาพเครื่องมือและเนื้อเยื่ออีก  เราได้เริ่มพัฒนาขึ้นไปอีกขั้นตอนหนึ่ง คือแทนที่เราจะส่องกล้องตรวจวินิจฉัยและทำหมันผู้ป่วยหรือทำหัตถการง่ายๆ เช่น cystectomy ดังกล่าวมาแล้ว เราก็เริ่มทำหัตถการผ่าตัด รังไข่ ท่อนำไข่ ตัดเนื้องอกมดลูกและตัดมดลูกในผู้ป่วยที่เป็นโรคไม่ซับซ้อน ก่อนจะได้รับอนุมัติให้ทำการผ่าตัดเช่นนี้ผ่านกล้องได้ ก็มีอุปสรรคมากมายจากอาจารย์แพทย์ผู้ใหญ่จำนวนมาก ซึ่งไม่เห็นด้วยที่จะทำการผ่าตัดใหญ่ด้วยแผลเล็ก ๆ ผ่านกล้อง หลายท่านให้คำพังเพยว่า Big surgeon Big incision ผมจึงทำผ่าตัดได้ในวงจำกัด ดังนั้นผมจึงสามารถทำผ่าตัดผ่านกล้องได้เฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ในความรับผิดชอบของผมเท่านั้น

 ใน พ.ศ. 2536  เราได้รับการสนับสนุนเครื่องมือจากบริษัท Olympus Thailand ให้ยืมเครื่องมือเมื่อมี case ผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดสะดวกง่ายขึ้นและได้ผลดีกว่าเดิมมาก  และได้ร่วมมือกันจัด laparoscopic gynecologic conference and workshop hands-on porcine model ขึ้นเป็นครั้งแรก มีทั้งหมด 4 stations

 มีสูตินรีแพทย์ สมัครเข้ารับการฝึกอบรมประมาณ 60 ท่าน  แพทย์ ฝึก hands-on porcine model มีทั้งหมด 16 ท่าน station ละ  4 ท่าน เราทำ laparoscopic workshop ร่วมกับ บริษัท Olympus ปีละ 3 ครั้ง เป็นเวลานาน ประมาณ 1 ปี ต่อมาบริษัทนี้มีปัญหากับทางบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นก็เลยยุติการสนับสนุน  ต่อมาปี พ.ศ. 2543 บริษัท STORZ GMBS ได้เข้ามาสนับสนุนและร่วมมือกันโดยมี Professor Dr. Dr. H.R. Tinneberg และ Madam Dr. Sybill Storz เข้ามาร่วมจัดตั้งด้วย เราจึงได้เริ่มจัด Endoscopic Workshop ขึ้นมาใหม่ โดยจัด ปีละ 4 ครั้ง

พศ. 2538 ทีมเรา มี ผศ. นพ. โกวิท พิมลพันธ์ ศ. นพ. เจษฎา อินทรภูวศักดิ์   ร.ศ. นพ. พงษศักดิ์ ชัยศิลป์วัฒนา (หัวหน้าทีม) พญ. ประนอม (สูติ-นรีเวชฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น fellowship training คนแรก ของสาขาวิชาฯ) ได้ทำผ่าตัด Radical Hysterectomy and pelvic lymphadenectomy ในผู้ป่วย carcinoma of cervix stage I ได้สำเร็จด้วยดี ผู้ป่วยสามารถถ่ายปัสสาวะได้เองในวันที 3 หลังผ่าตัด และกลับไปพักผ่อนที่บ้านได้ในวันที่ 4 หลังผ่าตัด ใช้เวลาผ่าตัดรวมอยู่ในห้องผ่าตัดนาน 16 ชั่วโมง เวลาที่ใช้จริงในการผ่าตัดประมาณ 7 ชั่วโมง เวลาที่เหลือเป็นเวลาที่ใช้ในการแก้ไขอุปสรรคจากเครื่องมือและการจี้ตัดเป็นส่วนใหญ่

ในปีเดียวกันนี้ ผมได้รับเชิญจากชมรม ELSA (Endoscopic and Laparoscopic Surgeons of Asia) ให้ไปร่วมงานประชุมวิชาการผ่าตัดผ่านกล้องกับศัลยแพทย์ ที่ โรงแรม ดุสิตธานี ชะอำ ชลบุรี ในที่ประชุมผมได้พบและรู้จักกับ อ. นพ. สมชัย โกวิทเจริญกุล สูตินรีแพทย์จาก รพ.กรุงเทพคริสเตียน

 

Genesis of TSGE

เมื่อกลับมาที่ศิริราช ผมได้ปรึกษากับ ผศ.นพ. โกวิท พิมลพันธ์ (หัวหน้าสาขาวิชาการใช้กล้องเพื่อส่องตรวจและรักษาทางนรีเวช (Division of Gynecologic Endoscopy) ผศ. นพ. จงรักษ์  นิภาวงศ์ และ ศ. นพ. เจษฎา  อินทรภูวศักดิ์ ว่าเราควรตั้งองค์กรกลางขึ้นมาเหมือน ELSA เพื่อเป็นศูนย์กลางรวมพลแพทย์ด้านการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชฯเข้าด้วยกัน เพี่อประโยชน์ในการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ความสามารถในระหว่างแพทย์ไทยและระหว่างแพทย์ไทยกับแพทย์นานาชาติ อาจารย์ทุกท่านที่ร่วมกันคิด รวมทั้งอาจารย์ นพ. สมชัย  โกวิทเจริญกุล มีความเห็นชอบด้วย  ในเดือนกุมภาพันธ์ 2539 ผมได้โทรศัพท์ และส่งจดหมายติดต่ออาจารย์แพทย์ผู้ที่มีความสนใจในวิทยาการทางนรีแพทย์ผ่าตัดผ่านกล้องในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ให้มาร่วมประชุมกัน

รพ.กรุงเทพคริสเตียน นพ.สมชัย โกวิทเจริญกุล และ พญ. สุนันทา สินเพิ่มสุขสกุล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผศ. นพ. จำนง อุตวิชัย  มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผศ. นพ. กนก สีจร มหาวิทาลัยสงขลานครินทร์ นพ.เหทิญ ถิ่นธารา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นพ. วิรัช วิศวสุขมงคล คณะแพทยศาสต์รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นพ. ชาติชัย  ศรีสมบัติ คณะแพทยศาสตร์รพ.พระมงกุฎ นพ. ธีรศักดิ์  ธำรงธีระกุล  รพ. เจริญกรุงประชารักษ์ นพ. มงคล จันทาภากุล รพ.หัวเฉียว พญ.นฤมล ชรากร มาประชุมกันในวันหยุดราชการที่ JI Clinic ตึก CTI tower ชั้น 8 ของ ศ. นพ. เจษฎา อินทรภูวศักดิ์   เราประชุมอยู่หลายครั้ง เรื่องสำคัญคือการกำหนดชื่อชมรมฯ จัดตั้งคณะกรรมกา รร่วมกันร่างธรรมนูญและ กฎข้อบังคับของชมรมฯ

คณะกรรมการจัดการเปิดตัวชมรมนรีแพทย์ผ่าตัดผ่านกล้องแห่งประเทศไทย (Thai Society of Gynecologic Endoscopy TSGE ) อย่างเป็นทางการ เมื่อ วันที่ 26  พฤษภาคม พ.ศ. 2539 ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ (Royal Hotel) ถนนราชดำเนิน  ที่ประชุมมีมติแต่งตั้งให้ผมเป็นประธานคนแรกของชมรมฯ  แต่ผมขอปฏิเสธ และขอให้อาจารย์วิรัช  ไปกราบเรียนเชิญ ศ. กิติคุณ คุณหญิงพญ. กอบจิตต์ ลิมปพะยอม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเป็นประธานคนแรกของชมรมฯ ด้วยเหตุผลที่ว่าอาจารย์เป็น WHO Consultant ท่านเป็นหนึ่งในสามท่านแรกที่ทำหมันผู้ป่วยโดยการใช้กล้องที่ได้รับมาจาก JHPIEGO (The Johns Hopkins Program for International Education  in Gynecology and Obstetrics. ( ศ. กิติคุณ คุณหญิง พญ. กอบจิตต์ ลิมปพะยอม,  ศ. นพ. กำแหง จาตุรจินดา  ศ. นพ. สุพร เกิดสว่าง) ท่านเป็นที่รู้จักอยู่ในวงการนรีแพทย์ผู้ใหญ่ต่างประเทศ  เมื่อท่านมาเป็นประธาน ท่านจะสามารถใช้ความสนิทสนมส่วนตัวนำชมรมวิ่งไปสู่ระดับนานาชาติได้เร็วขึ้น ไม่ต้องมาเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ เพราะผมมี connection network กับแพทย์ผู้ใหญ่ต่างชาติน้อยมาก

เมื่อ ศ. กิติคุณ คุณหญิง พญ. กอบจิตต์ กรุณารับเป็นประธานคนที่ 1 มาช่วยชมรม เราต่างก็เห็นผลชัดเจนว่าท่านแนะนำชมรมฯให้เป็นรู้จักของชมรมผ่าตัดผ่านกล้องนานาชาติได้ดีและรวดเร็ว เช่น ISGE (International Society of Gynecologic Endoscopy) เป็นต้น

 

Genesis of TGMET center

วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2543 ได้ก่อตั้งศูนย์ฝึกอบรมการผ่าตัดสหสาขาผ่านกล้องไทย–เยอรมัน ภาควิชาสูติศาตร์–นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลขึ้น โดยได้รับเงินทุนตั้งต้นและการสนับสนุนด้านต่าง ๆ จากท่านคณบดีศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงชนิกา  ตู้จินดา ได้รับการสนับสนุนจากท่านหัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา ศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์สมชาย  เนื่องตัน และความช่วยเหลือจากประเทศเยอรมนี ทั้งในด้านวิชาการทางการแพทย์โดยได้รับความช่วยเหลือจาก Professor Dr. Dr. h.c. H.R. Tinneberg ซึ่งปัจจุบันท่านได้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ หัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา ประจำ Giessen University ซึ่งตั้งอยู่ ณ เมือง Giessen, Germany และท่านยังได้รับการแต่งตั้งเป็น ศาสตราจารย์อาคันตุกะ (Visiting Professor) ของมหาวิทยาลัยมหิดลอีกตำแหน่งหนึ่ง นอกจากนั้นยังได้รับการสนับสนุนในด้านอุปกรณ์การเรียนการสอน ตลอดจนเครื่องมือผ่าตัดจาก Dr. h.c. mult. Sybill Storz แห่งบริษัท STORZ ประเทศเยอรมนี อีกด้วย ต่อมาศูนย์ ฯ นี้ได้รับการพัฒนาเป็นInternational Thai – German Multidisciplinary Endoscopic Training Center for South East Asia

                       

TSGE & ISGE

พ.ศ. 2545 ชมรมฯ ได้รับการไว้วางใจจาก ISGE (International Society of Gynecologic Endoscopy) ให้จัด 6th Regional Meeting of ISGE & Annual Scientific meeting of TSGE  Nov. 12-15, 2002 (Glorious Mission of Endoscopy Beyond The Year 2002)   ทางชมรมฯได้จัดการประชุมที่ Shangri-La Hotel Bangkok, Thailand การประชุมนานาชาติครั้งแรกของ

ของชมรมฯ มีแพทย์ไทยและต่างชาติรวมทั้งวิทยากรเข้าร่วมประชุมประมาณ 350 คน ทำให้ TSGE เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ นับว่าประสพความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยม และเป็นเกียรติของชมรมฯอย่างมาก

Genesis of APAGE

พ.ศ. 2546  ชมรมได้ไปร่วมประชุม ISGE ที่กรุง LONDON ประเทศอังกฤษ Professor. Dr. Chyi-Long Lee และทีมงาน TAMIG (Taiwan Association for Minimally Invasive Gynecology) ได้เชิญผมเข้าประชุมที่ห้องประชุมเล็กของ RCOG (Royal College of Obstetricians & Gynecologists) เพื่อร่วมกันจัดตั้ง ชมรม APAGE (Asia Pacific association for gynecologic endoscopic surgeons and Minimal invasive surgery) 

TSGE-APAGE-RTCOG Workshop

ในวันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2550 จะเป็นวันเปิดศูนย์ฝึกอบรมการผ่าตัดสหสาขาผ่านกล้องไทย – เยอรมัน ที่ได้รับการพัฒนาใหม่และเปิดการฝึกอบรมการผ่าตัดทางนรีเวชผ่านกล้องนานาชาติ TSGE-APAGE-RTCOG Workshop ทางศูนย์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมและทรงเปิดศูนย์ฝึกอบรมดังกล่าว นำมาซึ่งความปลาบปลื้มปิติและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณแก่คณะกรรมการและผู้รับการฝึกอบรมอย่างล้นพ้นหาที่สุดมิได้ TGMET centre under The Royal Patronage of HRH Princess Maha-Chakgri Sirindhorn

ต่อมาวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554 ทางศูนย์ฯได้รับพระพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีอีกครั้ง โดยทรงรับศูนย์ฝึกอบรมการผ่าตัดสหสาขาผ่านกล้องไทย – เยอรมันไว้ในพระราชูปถัมภ์ นำมาซึ่งความปลาบปลื้มปิติและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณแก่คณะกรรมการและผู้รับการฝึกอบรมอย่างล้นพ้นหาที่สุดมิได้

ศูนย์ฝึกอบรมการผ่าตัดสหสาขาผ่านกล้องไทย – เยอรมัน ชมรมนรีแพทย์ผ่าตัดผ่านกล้องแห่งประเทศไทย และราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และชมรมต่างประเทศ เช่น APAGE ได้ร่วมกันจัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติร่วมกันตลอดมา

 

EMBRACE THE FUTURE

 

            สำหรับอนาคตของการทำผ่าตัดผ่านกล้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งความก้าวหน้าทาง Technology, Minimallly invasive surgeryเ เป็นสิ่งที่พวกเราต้องให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง ต้องติดตามให้ทันเพื่อจะสามารถพัฒนาการผ่าตัดและรักษาผู้ป่วยให้ได้ผลดีเยี่ยมทั้งด้านผู้ป่วยและทางการแพทย์ ด้วยการลงทุนที่ประหยัดที่สุด ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วย่อมตามมาด้วยต้นทุนค่าใช้จ่าย การลงทุนในการแพทย์ก็สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ประเทศไทยเป็นประเทศซื้อหาเครื่องมือมาใช้ (USER) เกือบ 100% จำเป็นต้องเรียนรู้เครื่องมือวิธีการใช้เครื่องมือ การรักษาเครื่องมือและประโยชน์ที่พึงได้รับต่อผู้ป่วยและวงการแพทย์ การที่เราศึกษาข้อมูลความก้าวหน้าของเครื่องมือให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ครบถ้วนและร่วมมือกับวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ด้านอื่นๆ  ช่วยกันพัฒนา Technology และ นวัตกรรม ด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านปัญญาประดิษฐ์จะสามารถพลิกโฉมประเทศไทยจาก USER  เป็น  PRODUCER ได้ในอนาคต

การพัฒนาที่เราจะพบได้อย่างรวดเร็ว ได้แก่

  1. ระบบกล้อง เล็นซ์และการเก็บบันทึกภาพ (Endoscopic visualization) เมื่อนำระบบปัญญาประดิษฐ์มาประกอบร่วมกัน จะได้ภาพคมชัดเจนแม่นยำและทันเหตุการณ์เหมือนการทำงานของกล้องในดาวเทียมและยานอวกาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้อง 3D จะได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมากมาย ทำให้แพทย์เห็นภาพเหมือนหรือดีกว่า Exploratory laparotomy

  2. อุปกรณ์และเครื่องมือช่วยผ่าตัดจะมีขนาดเล็กลงมาก ๆ แต่แข็งแรงแม่นยำทนทาน เหมาะสมกับการผ่าตัดในที่แคบและยากต่อการเข้าถึงโดยอาศัย high end computer chip ช่วยแพทย์ทำการผ่าตัดได้สะดวกแม่นยำเห็นภาพขยายชัดเจนและได้ผลดีมาก ลด complication และทำให้ผู้ป่วยหายเป็นปรกติโดยเร็ว

  3. หุ่นยนตร์ช่วยผ่าตัด (Robotic Assistance) จะได้รับการพัฒนาให้ก้าวไกลขึ้นมาก ช่วยเพิ่มความแม่นยำของแพทย์ผ่าตัด แบบ real-time image analysis โดยแฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่การผ่าตัดทำได้ยากเช่น บริเวณที่มีพังผืดมากและหนา บริเวณรอยโรคที่ติดกับอวัยวะสำคัญ เป็นต้น ช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนและตัดสินใจการผ่าตัดได้แม่นยำขึ้น

  4. Nanotechnology: ในอนาคต ระบบ Microscopic Robot จะช่วยแพทย์ในการผ่าตัดชนิด targeted procedure มุ่งทำผ่าตัดในระดับ cellular level ปราศจากการรุกรานกระทบอวัยวะข้างเคียง

  5. Therapeutic Advancement: ในอนาคตจะมีการพัฒนาวิธีการผ่าตัดที่ extremely minimally invasive surgery and tissue removal มาใช้ เช่น Super Laser Beam Technology, Ultrasound and advance tissue repairing procedure ทำให้การผ่าตัดได้ผลดีขึ้นอย่างมากมาย ผู้ป่วยเจ็บน้อยมาก หรือ ไม่เจ็บเลย ได้ผลดีและหายเป็นปรกติโดยเร็ว

  6. ผลผ่าตัดอาจจะมีน้อยหรือไม่มีเลย (Scarless Surgery) เช่น Natural   Orifice Transluminal Endoscopic Surgery (NOTES) วิธีนี้นอกจากไม่เห็นแผลเป็นแล้วยังเจ็บน้อยและหายเร็ว

  7. การผ่าตัดรักษาผู้ป่วยมีบุตรยาก (Fertility Preservation and Reproductive Surgery) ช่วยให้การผ่าตัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรค Deep infiltrating endometriosis (DIE) และ Preservation of Ovarian Function ได้ผลดีมากขึ้น

  8. การผ่าตัดทางไกลผ่านกล้อง (Telemedicine and Remote Surgery) มีประโยชน์ในการผ่าตัดผู้ป่วยที่อยู่ต่างสถานที่ ให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยแก้ปัญหายาก ๆที่พบขณะกำลังทำผ่าตัดเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ดีที่สุด และใช้ในการเรียนการสอนจากผู้เชี่ยวชาญต่างสถาบัน ซึ่งในอนาคตจะทำได้ง่ายและรวดเร็วมากเมื่อมีการพัฒนาระบบ internet ความเร็วสูงมาก ๆ

  9. การเรียนการสอนการอบรมแพทย์ผ่าตัดผ่านกล้อง (Education and Training) การสอนผ่าตัดผ่านกล้องในสัตว์ทดลอง หรือ ในอาจารย์ใหญ่ (cadaveric model) จะทำได้ยากขึ้นมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ต้องหันมาพึ่ง Simulation Technology and Virtual reality ซึ่งได้รับการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นและค่าใช้จ่ายสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อมาใช้ในการเรียนการสอนและพัฒนาทักษะของแพทย์

 

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่าล้วนแล้วต้องใช้งบประมาณสูง ต้องการศักยภาพในการดูแลรักษาและพัฒนาสูงมาก เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและเล็งผลเลิศ สมควรที่ประเทศไทยของเราควรมีพื้นที่ส่วนกลางที่เรียกว่า High-End International Multidisciplinary Endoscopic Training Center (HIMET center) ที่มีการรวมตัวของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดผ่านกล้องทั้งไทยและนานาชาติ สัตวแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ วิศวกรและบุคลากรอื่น ๆที่เกี่ยวข้องมารวมตัวกันเพื่อการเรียนการสอนการผ่าตัดรักษาผู้ป่วย การพัฒนา การวิจัยและแลกเปลี่ยนทางวิชาการและนวัตกรรมระดับชาติและนานาชาติ เพื่อให้ประเทศไทยที่รักยิ่งของเราพัฒนาสู่ความเป็นเลิศในด้านการผ่าตัดผ่านกล้อง

____________________________________________

bottom of page